หัวข้อ   “นโยบายที่หาเสียงไว้ของรัฐบาลชุดใหม่ กับสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เป็นห่วง”
    คำชี้แจง :   รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้  เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัว
                    ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัด
                    อยู่แต่อย่างใด

 
                 นักเศรษฐศาสตร์รู้สึกเป็นห่วงและต้องการให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยคิดให้
รอบคอบใน 14 โครงการจาก 26 โครงการ พร้อมเสนอ 8 ประเด็นที่รัฐบาลต้องคำนึง
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับรัฐบาลชุดใหม่ในการดำเนินนโยบาย
ตามที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชน   การสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำเดือนนี้
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  จึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง “
นโยบายที่
หาเสียงไว้ของรัฐบาลชุดใหม่ กับสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เป็นห่วง
” โดยสำรวจความคิดเห็น
จากนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำ
ของประเทศ 26 แห่ง จำนวน 62 คน พบว่า
 
                 จากนโยบายที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้ 26 นโยบาย มีถึง 14 นโยบายที่
นักเศรษฐศาสตร์รู้สึกเป็นห่วงและอยากให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยคิดให้รอบคอบก่อน
ดำเนินการ
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนโยบายที่เกี่ยวกับปากท้องของประชาชนโดยตรง  ตรงข้าม
กับนโยบายโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ
ที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อมั่นว่าเป็นนโยบายที่ดีและต้องการให้เดินหน้าอย่างเต็มที่
 
                 ทั้งนี้ นโยบายที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่รู้สึกเป็นห่วงและต้องการให้คิดให้รอบคอบก่อนดำเนินการ
มากที่สุด
3 ลำดับแรก คือ
                            นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ภายใน 90 วัน (ร้อยละ 93.5)
                            นโยบายแจกเครดิตการ์ดให้เกษตรกร เพื่อใช้ซื้อปัจจัยการผลิต (ร้อยละ 80.6)
                            นโยบายแจกแท็บเลต พีซี ให้เด็กนักเรียน (ร้อยละ 80.6)
 
                 ส่วนนโยบายที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อมั่นว่าดีและต้องการให้เดินหน้าอย่างเต็มที่ 3 ลำดับแรก คือ
                            นโยบายจัดให้มีศูนย์ฝึกในอาชีวศึกษาทุกแห่ง (ร้อยละ 93.5)
                            นโยบายขจัดยาเสพติดใน 12 เดือน (ร้อยละ 87.1)
                            นโยบายจัดให้มีอินเทอร์เน็ตฟรีในที่สาธารณะ (ร้อยละ 79.0)
 
 
นโยบายที่เชื่อมั่นว่าดีและ
ต้องการให้เดินหน้าอย่างเต็มที่
นโยบายที่รู้สึกเป็นห่วงและ
ต้องการคิดให้รอบคอบ
นโยบายเศรษฐกิจที่
เกี่ยวกับประชาชน
โดยตรง
1 นโยบาย
 
1 คืนภาษี-เพิ่มค่าลดหย่อนให้ผู้ซื้อบ้าน
   หลังแรก (75.8%)
9 นโยบาย
 
1 ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท (93.5%)
2 แจกเครดิตการ์ดให้เกษตรกร (80.6%)
3 จบปริญญาตรี เงินเดือน15,000 บ.
   (77.4%)
4 พักหนี้ครัวเรือน อย่างน้อย 3 ปี (69.4%)
5 จำนำข้าวเปลือกเจ้าเกวียนละ 15,000 บ.
   และข้าวหอมมะลิเกวียนละ 20,000 บ.
   (66.1%)
6 ยกเลิกกองทุนน้ำมัน (64.5%)
7 คืนภาษีให้ผู้ซื้อรถคันแรก (61.3%)
8 เครดิตการ์ดพลังงาน (56.5%)
9 ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 20% ในปี 56
   (54.8%)
 
นโยบายเกี่ยวกับ
โครงการ
ขนาดใหญ่ที่
เกี่ยวกับโครงสร้าง
พื้นฐานทาง
เศรษฐกิจ
ของประเทศ
5 นโยบาย
 
1 ทำสนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลาง
   การบิน (74.2%)
2 ทำรถไฟรางคู่เชื่อมชานเมือง ทำรถไฟ
   ความเร็วสูงไปหัวเมืองใหญ่ ขยาย
   แอร์พอร์ตลิงค์ไปพัทยา (69.4%)
3 สร้างรถไฟฟ้า 10 สายเก็บ 20 บาท
   ตลอดสาย (67.7%)
4 ปรับปรุง 25 ลุ่มน้ำ-ดึงน้ำจากพม่า-ลาว-
   กัมพูชา (61.3%)
5 ทำแลนด์บริดจ์ภาคใต้ เชื่อมเศรษฐกิจ
   2 ฝั่ง (61.3%)
 
1 นโยบาย
 
1 สร้างเขื่อนกั้นทะเลสมุทรสาคร-สมุทรปราการ
   (50.0%)
นโยบาย
ด้านสังคม
6 นโยบาย
 
1 จัดให้มีศูนย์ฝึกในอาชีวศึกษาทุกแห่ง
   (93.5%)
2 ขจัดยาเสพติดใน 12 เดือน (87.1%)
3 ฟรีอินเทอร์เน็ตในที่สาธารณะ (79.0%)
4 30 บาทรักษาทุกโรคได้จริง (75.8%)
5 กองทุนให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต
   (ICL) (71.0%)
6 ตั้งกองทุนร่วมทุนทุกจังหวัด เพื่อให้
   ประชาชนในแต่ละจังหวัดสามารถเข้าถึง
   แหล่งเงินทุน (46.8%)
 
4 นโยบาย
 
1 แจกแท็บเลต พีซี ให้เด็กนักเรียน (80.6%)
2 ชายแดนใต้ 3 จว. เป็นเขตปกครองพิเศษ
   (64.5%)
3 ตั้งกองทุนตั้งตัว 1,000 ล้านบาทใน
   มหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน เพื่อให้
   นักศึกษาหรืออาจารย์ สามารถกู้ไปประกอบ
   ธุรกิจได้ (62.9%)
4 จัดตั้งกองทุนทรัพย์สินของชาติโดยใช้ทุน
   สำรองระหว่างประเทศจำนวนหนึ่งเพื่อลงทุน
   ในต่างประเทศ (62.9%)
 
รวม
12 นโยบาย
14 นโยบาย
 
             สำหรับข้อคิดเห็นในการดำเนินนโยบายทั้ง 26 นโยบาย มีดังนี้
1. 

นักเศรษฐศาสตร์มีความเป็นห่วงว่าจะทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อขึ้นในระบบเศรษฐกิจไทย

2. 

เงินงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับสูง ขณะที่การดำเนินโครงการ
บางโครงการก็จะทำให้รายได้ของรัฐบาลลดน้อยลง
ซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลต้องประสบกับปัญหา
ทางการคลัง จนอาจทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการต่างๆ ได้ทั้งหมดตามที่ได้หาเสียงไว้

3. 

การดำเนินโครงการบางโครงการอาจทำให้ความสามารถในการแข่งขันในสินค้าส่งออกลดลง
อันเป็นผลจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จะส่งผลกระทบกับธุรกิจ SMEs ที่อาจจะต้องปิดตัวลง เกิดการ
ย้ายฐานการผลิต และอาจนำมาซึ่งการว่างงานที่เพิ่มขึ้นกับแรงงานไทย นอกจากนี้จะทำให้
แรงงานต่างด้าวเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมาก
อันจะนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆ ตามมา

4. 

การดำเนินโครงการบางโครงการอาจสุ่มเสี่ยงหรือมีช่องทางให้มีการทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นได้
โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ รวมถึง โครงการตั้งกองทุนร่วมทุนทุกจังหวัด และ โครงการรับจำนำข้าว

5. 

การดำเนินโครงการบางโครงการไม่เพียงไม่ช่วยแก้ปัญหา แต่อาจสุ่มเสี่ยงต่อการสร้างปัญหา
ใหม่ให้เกิดขึ้น
เช่น โครงการแจกเครดิตการ์ดให้เกษตรกรเพื่อใช้ซื้อปัจจัยการผลิต โครงการคืนภาษี
ให้ผู้ซื้อรถคันแรก โครงการเครดิตการ์ดพลังงานเพื่อเติมน้ำมันหรือก๊าซ NGV สำหรับคนขับแท๊กซี่
สามล้อ รถตู้ และมอเตอร์ไซต์รับจ้าง และโครงการพักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี
เป็นต้น

6. 

โครงการใดที่เป็นของรัฐบาลชุดเก่าซึ่งเป็นนโยบายที่ดีอยู่แล้วก็ควรจะมีการสานต่อและพัฒนา
ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคได้จริง เป็นต้น

7. 

โครงการบางโครงการที่หาเสียงไว้มีความอ่อนไหวค่อนข้างมาก ดังนั้น ควรมีการพิจารณา
ให้รอบคอบเป็นพิเศษ
เช่น การจัดชายแดนใต้ 3 จว. เป็นเขตปกครองพิเศษ โครงการจัดตั้งกองทุน
ทรัพย์สินของชาติโดยใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนหนึ่งเพื่อสนับสนุนการลงทุนของนักลงทุนไทย
ในต่างประเทศ

8. 

การดำเนินโครงการต่างๆ ควรอยู่ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า เพราะจะทำให้เศรษฐกิจ
ค่อยๆ มีการปรับตัว ไม่เกิดภาวะช็อค   หรือในบางโครงการที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ก็ไม่ควรเร่งรีบ
ดำเนินการจนขาดการละเลยในการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างถี่ถ้วน   ดังนั้นการจัดลำดับความสำคัญ
ของโครงการจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลชุดใหม่จำเป็นต้องคำนึง

 
                 (โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
 
นิยาม :
เชื่อมั่นว่าดี/เดินหน้าเต็มที่     คือ เชื่อมั่นว่าโครงการเศรษฐกิจดังกล่าว จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาพรวม
                     และมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของไทย แม้ว่าในทาง
                     ปฎิบัติอาจมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดของโครงการบ้างเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม
                     ทางเศรษฐกิจของสังคมไทย หรือความจำเป็นของโครงการที่ต้องมีการดำเนินการภายใน 4 ปีนี้
                     เป็นต้น จึงสนับสนุนให้มีการเดินหน้าโครงการดังกล่าวอย่างเต็มที่
รู้สึกเป็นห่วง/คิดให้รอบคอบ   คือ หากมีการดำเนินการในโครงการเศรษฐกิจดังกล่าว อาจสุ่มเสี่ยง ที่จะสร้าง
                     ปัญหาในระยะยาว (แม้ว่าในระยะสั้นอาจจะส่งผลดีก็ตาม) รวมถึงอาจเป็นโครงการที่ไม่เหมาะกับ
                     สภาพเศรษฐกิจและสังคมไทย รวมถึงงบประมาณที่จะนำมาใช้ในการดำเนินโครงการ หรือ เป็น
                     โครงการที่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการภายใน 4 ปีนี้ เป็นต้น จึงขอให้รัฐบาลคิดให้
                     รอบคอบก่อนตัดสินใจดำเนินโครงการดังกล่าว
 
(ใช้อธิบายข้อมูลในตารางต่อไป)
 
 
นโยบายหาเสียงของ
พรรคเพื่อไทย
เชื่อมั่นว่าดี/
เดินหน้า
เต็มที่
รู้สึกเป็นห่วง/
คิดให้
รอบคอบ
ความคิดเห็นเพิ่มเติม
ไม่ตอบ/
ไม่แน่ใจ
โครงการเศรษฐกิจ
1.
 
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
ภายใน 90 วัน
6.5
93.5
• อาจทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ
  ในลักษณะวนไปเรื่อยๆ (spiral
  inflation)
• ควรปรับขึ้นค่าแรงอย่างค่อยเป็น
  ค่อยไปในอัตราที่เหมาะสมอย่าง
  รอบคอบ และไม่ควรปรับใน
  อัตราเดียวทั่วประเทศ
• ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นโดยเฉพาะ
  SMEs นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความ
  สามารถในการแข่งขันของสินค้า
  ส่งออกทำให้เกิดการย้ายฐาน
  การผลิต ดังนั้นหากจะปรับขึ้น
  ค่าแรงควรต้องปรับเพิ่มจาก
  ฝีมือในการทำงานที่เพิ่มขึ้นด้วย
• นำมาซึ่งปัญหาจากแรงงาน
  ต่างด้าว
0.0
2.
 
แจกเครดิตการ์ดให้เกษตรกร
เพื่อใช้ซื้อปัจจัยการผลิต
16.1
80.6
• จะเป็นการสร้างหนี้ให้กับเกษตรกร
  มากกว่าการช่วยเหลือ เพราะมี
  ความเป็นไปได้ว่าเกษตรกร
  บางส่วนอาจขาดวินัยทางการเงิน
  หรือไม่มีความรู้  ความเข้าใจที่
  เพียงพอในการใช้บัตรเครดิต
• เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
  มากกว่าต้นเหตุ ในกรณีที่รายได้
  เกษตรกร ไม่เป็นไปตามที่คาด
  ภาระหนี้ที่เกิดขึ้นรัฐบาลจะแก้ไข
  อย่างไร
• หากจะดำเนินการจริงรัฐต้อง
  วางแผนให้รัดกุมเพื่อเป็นการเพิ่ม
  โอกาส ไม่ใช่การเพิ่มภาระให้
  เกษตรกร
3.3
3.
 
จบปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น
15,000 บาท
22.6
77.4
• จะสร้างปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งจะ
  กระทบกับเกษตรกรหรือ
  ประชาชนที่ไม่ได้รับประโยชน์
  จากโครงการต่างๆ ของรัฐบาล
  เลย
• ภาคเอกชนอาจไม่ทำตาม
  ในส่วนของภาครัฐลูกจ้างเดิมจะ
  ดำเนินการอย่างไร แล้วสวัสดิการ
  ที่ได้รับในปัจจุบันจะยังคงอยู่
  หรือไม่ ซึ่งหากมีการดำเนินการ
  จริงจะต้องใช้งบประมาณ
  จำนวนมาก และจำเป็นต้องปรับ
  เงินเดือนทั้งระบบ
• เงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000
  ซึ่งอาจถือได้ว่าสูงกว่าความรู้
  ความสามารถ เนื่องจากคนกลุ่มนี้
  ยังไม่มีประสบการณ์ทำงานเลย
• หากจะปรับเพิ่มควรปรับเพิ่มใน
  บางสาขาวิชาเท่านั้น หรือเฉพาะ
  คนที่มีผลการเรียนที่ดีเยี่ยม
  เป็นต้น
0.0
4.
 
พักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 5 แสน
บาท อย่างน้อย 3 ปี
24.2
69.4
• นโยบายนี้อาจทำให้คนไทย
  ขาดวินัยในการใช้เงิน ใช้งบ
  ประมาณสูง หากจะดำเนินการ
  จริงควรพักแค่ 1 ปีก็เพียงพอแล้ว
  และต้องจัดกลุ่มว่าหนี้สินที่
  เกิดขึ้นเป็นผลมาจากสิ่งใด
6.4
5.
  

จำนำข้าวเปลือกเจ้าเกวียนละ
15,000 บาท และข้าวหอมมะลิ
เกวียนละ 20,000 บาท
24.2
66.1
• อาจส่งผลต่อการสูญเสียตลาด
  ส่งออกได้ เพราะราคาสูงกว่า
  ตลาดโลกมาก ซึ่งหากดำเนินการ
  จริง  รัฐต้องใช้งบประมาณ
  จำนวนมาก
• มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการ
  ทุจริตเหมือนเดิม
• จะส่งผลดีต่อเกษตรกร แต่ต้อง
  ตระหนักในปัญหาอื่นๆ ที่จะ
  ตามมา
9.7
6.
ยกเลิกกองทุนน้ำมัน
32.3
64.5
• ควรมีแผนที่ชัดเจนในกรณี
  ราคาน้ำมันในตลาดโลกผันผวน
  ซึ่งอาจกระทบต่อต้นทุนขนส่ง
  และส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม
  ในท้ายที่สุด
3.2
7.
คืนภาษีให้ผู้ซื้อรถคันแรก
30.6
61.3
• เป็นการส่งเสริมให้มีการใช้สินค้า
  ที่ฟุ่มเฟือย สิ้นเปลืองงบประมาณ
• นำพามาซึ่งปัญหาการจราจร
  ปัญหามลภาวะ ส่งผลให้ต้องมี
  การนำเข้าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
  ดังนั้นจึงน่าจะพัฒนาระบบ
  โครงข่ายคมนาคมให้ครอบคลุม
  และมีระบบมากกว่า
8.1
8.


 
เครดิตการ์ดพลังงาน เพื่อเติม
น้ำมันหรือก๊าซ NGV สำหรับ
คนขับแท๊กซี่ สามล้อ รถตู้
และมอเตอร์ไซต์รับจ้าง
35.5
56.5
• จะเป็นการสร้างหนี้ให้กับคนขับรถ
  มากกว่าการช่วยเหลือ เนื่องจาก
  จะนำรายได้ไปใช้จ่ายในส่วนอื่น
  ก่อน และอาจทำให้เสียวินัยทาง
  การเงินได้
• ควรเน้นที่ราคาพลังงานที่เป็น
  ธรรมและชัดเจนก็น่าจะเพียงพอ
  แล้ว
8.0
9.
 
ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ
20 % ในปี 2556
38.7
54.8
• รายได้ของรัฐจะลดลง การคลัง
  อาจมีปัญหา ซึ่งอาจจะส่งผลต่อ
  การดำเนินโครงการต่างๆของ
  รัฐบาล โดยเฉพาะในกรณีที่
  เศรษฐกิจไม่ได้มีการขยายตัว
  ตามที่คาดการณ์ไว้
• หากจะปรับลดควรมีการขยาย
  ฐานภาษีให้มากขึ้น
• อัตราภาษีที่จะลดควรอยู่ในระดับ
  ที่เหมาะสม ในระดับที่ใกล้เคียง
  กับประเทศส่วนใหญ่ ซึ่งจะส่งผล
  ดีทั้งต่อภาคเอกชนและภาครัฐเอง
6.5
10.
 
คืนภาษี-เพิ่มค่าลดหย่อนให้
ผู้ซื้อบ้านหลังแรก
75.8
17.7
• เป็นการช่วยเหลือด้านความเป็น
  อยู่ขั้นพื้นฐานของประชาชน
  แต่ต้องมีเงื่อนไขที่ไม่ปล่อยให้
  คนที่มีเงินซื้อบ้านเพื่อเก็งกำไร
  นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
  อีกส่วนหนึ่ง
6.5
 
นโยบายหาเสียงของ
พรรคเพื่อไทย
เชื่อมั่นว่าดี/
เดินหน้า
เต็มที่
รู้สึกเป็นห่วง/
คิดให้
รอบคอบ
ความคิดเห็นเพิ่มเติม
ไม่ตอบ/
ไม่แน่ใจ
โครงการขนาดใหญ่
11.
 
สร้างเขื่อนกั้นทะเลสมุทรสาคร-
สมุทรปราการ
33.9
50.0
• คงได้ไม่คุ้มเสียเพราะต้องใช้เงิน
  ลงทุนสูง และสิ่งแวดล้อมในอ่าว
  เสียหาย ดังนั้นจึงควรมีการศึกษา
  ให้ถี่ถ้วน รวมถึงไม่มีความจำเป็น
  ที่จะต้องเร่งรีบดำเนินการใน
  4 ปีนี้
16.1
12.
 
ปรับปรุง 25 ลุ่มน้ำ-ดึงน้ำจาก
พม่า-ลาว-กัมพูชา
61.3
22.6
• น่าจะเป็นประโยชน์มากหากทำ
  ได้จริง
16.1
13.

 
ทำแลนด์บริดจ์ภาคใต้
ทำสะพานเชื่อมเศรษฐกิจ 2 ฝั่ง
(ระหว่างอันดามันและอ่าวไทย)
61.3
27.4
- ไม่มี -
11.3
14.
 
สร้างรถไฟฟ้า 10 สาย ใน กทม.
เก็บ 20 บาท ตลอดสาย
67.7
29.0
• เป็นโครงการที่ดีแต่การเก็บค่า
  โดยสารในระดับต่ำเกินไปอาจ
  ทำให้โครงการไม่คุ้มทุน
• ในการก่อสร้างควรทยอยทำจะ
  ได้ไม่เป็นภาระต่องบประมาณ
  มากนัก
3.3
15.



 
ทำรถไฟรางคู่เชื่อมชานเมือง
ทำรถไฟความเร็วสูงไปเชียงใหม่
โคราช และระยอง/ขยายแอร์-
พอร์ตลิงค์ไปฉะเชิงเทรา ไปชลบุรี
และไปพัทยา
69.4
22.6
• เป็นโครงการที่ดี แต่ต้องใช้งบ
  ประมาณในการดำเนินโครงการ
  สูง
• ในการก่อสร้างควรทยอยทำจะ
  ได้ไม่เป็นภาระต่องบประมาณ
  มากนัก
8.0
16.
 
ทำสนามบินสุวรรณภูมิเป็น
ศูนย์กลางการบิน
74.2
19.4
• เป็นประโยชน์ต่อการค้าและ
  การท่องเที่ยวอย่างมาก
6.4
 
นโยบายหาเสียงของ
พรรคเพื่อไทย
เชื่อมั่นว่าดี/
เดินหน้า
เต็มที่
รู้สึกเป็นห่วง/
คิดให้
รอบคอบ
ความคิดเห็นเพิ่มเติม
ไม่ตอบ/
ไม่แน่ใจ
โครงการด้านสังคม
17.
แจกแท็บเลต พีซี ให้เด็กนักเรียน
12.9
80.6
• ยังไม่มีความจำเป็นต้องทำถึง
  ขนาดนั้น อีกทั้งวุฒิภาวะและ
  ความรู้ในการใช้ประโยชน์จาก
  แทบเลตยังไม่มี นอกจากนี้
  รัฐจะหา content อะไรให้เด็กๆ
  เพื่อให้ใช้ แท็บเลต ได้อย่าง
  คุ้มค่า
• ควรปรับปรุงอุปกรณ์การเรียน
  ในประเภทอื่นๆ ด้วย
6.5
18.






 
ตั้งกองทุนตั้งตัว 1,000 ล้านบาท
ในมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน
เพื่อให้นักศึกษาหรืออาจารย์
สามารถกู้ไปประกอบธุรกิจได้
โดยตั้งกรรมการประกอบด้วย
อาจารย์และศิษย์เก่าที่ประสบ
ความสำเร็จในชีวิต และตัวแทน
ภาครัฐ
30.6
62.9
• เป็นช่องทางเข้าถึงเงินทุน แต่
  การบริหารงานอาจยากจากหนี้
  ซ้ำซ้อนที่กู้ยืมเรียน
• ช่วยให้บัณฑิตและอาจารย์
  สามารถกู้ไปลงทุนได้ ซึ่งจะช่วย
  สร้างผู้ประกอบการได้จำนวน
  หนึ่ง
• ควรมีแผนรองรับอย่างชัดเจน
  เพื่อป้องกันการเกิดหนี้เสีย
6.5
19.
 
ชายแดนใต้ 3 จว. เป็นเขต
ปกครองพิเศษ
22.6
64.5
• เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องศึกษา
  ให้รอบคอบ
12.9
20.



 
จัดตั้งกองทุนทรัพย์สินของชาติ
โดยใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศ
จำนวนหนึ่งเพื่อสนับสนุนการ
ลงทุนของนักลงทุนไทยในต่าง
ประเทศ
27.4
62.9
• เป็นแนวคิดที่ดีแต่ต้องพิจารณา
  ให้รอบคอบ
9.7
21.




 
ตั้งกองทุนร่วมทุนทุกจังหวัด
เพื่อให้ประชาชนในแต่ละจังหวัด
สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน
โดยมีกรรมการที่เข้าใจเศรษฐกิจ
ในจังหวัดนั้นๆ เป็นผู้อนุมัติเงินกู้
ให้กับแนวคิดธุรกิจที่น่าสนใจ
46.8
40.3
• อาจนำมาซึ่งช่องทางการทุจริต
  ช่องใหม่ รวมถึงปัญหาความ
  ลำเอียงในการให้กู้ยืม ความ
  หละหลวมอันจะก่อให้เกิดหนี้เสีย
  ดังนั้นการปล่อยให้สถาบันการเงิน
  ที่มีอยู่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  จึงน่าจะดีกว่า
• โดยปกติแต่ละหมู่บ้านจะมีกองทุน
  อยู่แล้ว การเข้าถึงเงินกู้จึงมิใช่
  ปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่การจัดการ
  กองทุนให้มีประสิทธิภาพ
12.9
22.

 
ใช้ระบบเรียนก่อน ผ่อนทีหลัง
(กองทุนให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได
้ในอนาคต(ICL))
71.0
25.8
• เป็นนโยบายที่ดีแต่ต้องคำนึง
  ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ดังเช่น
  ที่กำลังเกิดกับกองทุน กยศ.
3.2
23.
30 บาทรักษาทุกโรคได้จริง
75.8
17.7
• คุณภาพการรักษาไม่ควรต่ำกว่า
  มาตรฐาน
• หากดำเนินการต่อเนื่องจาก
  นโยบายของรัฐบาลชุดเก่าได้
  น่าจะดียิ่งขึ้น
6.5
24.
ฟรีอินเทอร์เน็ตในที่สาธารณะ
79.0
17.7
• ช่วยให้ประชาชนและนักเรียน
  สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้
  มากขึ้น แต่รัฐต้องใช้งบประมาณ
  จำนวนมาก
3.3
25.
ขจัดยาเสพติดใน 12 เดือน
87.1
9.7
• ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง
  และต่อเนื่อง
• ไม่ควรก่อให้เกิดการฆ่าตัดตอน
  เหมือนในครั้งที่ผ่านมา  ควรอยู่
  ในกรอบของกฎหมาย
3.2
26.
จัดศูนย์ฝึกในอาชีวศึกษาทุกแห่ง
93.5
4.8
• ควรเน้นเป็นพิเศษในแนวทาง
  ที่ตลาดต้องการ
1.7
   หมายเหตุ: เป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยประกาศไว้ตอนปราศัยใหญ่ที่เวทีราชมังคลากีฬาสถาน เมื่อ 1 ก.ค. 54
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ
                      โดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับรัฐบาลชุดใหม่
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง
               จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ
               ด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจ
               ระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 26 แห่ง ได้แก่   ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
               การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
               ประเทศไทย(TDRI)   มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย   ธนาคารเพื่อการ
               ส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย   ธนาคารกรุงไทย   ธนาคารไทยพาณิชย์   ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
               ธนาคารนครหลวงไทย   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ  บริษัทหลักทรัพย์เอเชีพลัส
               บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน   บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน   บริษัทหลักทรัพย์ไอร่า  คณะเศรษฐศาสตร์
               มหาวิทยาลัยทักษิณ  คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัย
               เชียงใหม่  คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์    คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น  
               และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                        รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
               ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 15 - 21 กรกฎาคม 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 22 กรกฎาคม 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
27
43.5
             หน่วยงานภาคเอกชน
21
33.9
             สถาบันการศึกษา
14
22.6
รวม
62
100.0
เพศ:    
             ชาย
30
48.4
             หญิง
32
51.6
รวม
62
100.0
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
25
40.3
             36 – 45 ปี
20
32.3
             46 ปีขึ้นไป
17
27.4
รวม
62
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
3
4.8
             ปริญญาโท
47
75.8
             ปริญญาเอก
12
19.4
รวม
62
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
12
19.4
             6 - 10 ปี
24
38.7
             11 - 15 ปี
6
9.6
             16 - 20 ปี
7
11.3
             ตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป
13
21.0
รวม
62
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776